โครงการสอน
รหัสวิชา FB 5201 ชื่อวิชา การเงินธุรกิจ น(ท-ป-ศ) 3(3-0-6)
(Business Finance)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลำใย มีเสน่ห์ โทร. 081 - 9371469
หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คำอธิบายรายวิชา
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : AC 5101 การบัญชีชั้นต้น
บทบาท หน้าที่และเป้าหมายของการบริหารทางการเงินของธุรกิจ และหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ทางการเงินเบื้องต้น การวางแผนทางการเงิน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การจัดสรรเงินทุนภายในธุรกิจ การวางแผนกำไร มูลค่าของเงินตามเวลา งบลงทุน การจัดหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจ นโยบายเงินปันผล และโครงสร้างของเงินทุน
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงบทบาท หน้าที่ และเป้าหมายของการบริหารทางการเงินของธุรกิจ เทคนิคการจัดทำงบการเงินและการรายงาน รวมทั้งหลักการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเบื้องต้น
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการวางแผนทางการเงิน การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
3. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงการจัดสรรเงินทุนภายในธุรกิจ
4. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการวางแผนกำไร การคำนวณหามูลค่าของเงินตามเวลา และงบลงทุน
5. เพื่อให้นักศึกษาได้จักกาารจัดหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจ
6. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงนโยบายเงินปันผลของธุรกิจ และโครงสร้างของเงินทุน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. บรรยายเนื้อหา โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและแผ่นใส
2. ซักถามนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาซักถาม
4. ให้นักศึกษาทำรายงาน
5. ให้นักศึกษาทำแบบฝีกหัดท้ายบท
แผนการสอน
สัปดาห์ที่ หัวข้อเรื่อง กิจกรรมการเรียนการสอน
1 ชี้แจงเกี่ยวกับการเรียนการสอน
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มรายงาน
2 - 3 บทที่ 2 งบการเงิน เทคนิคการจัดทำงบการเงิน
และการรายงาน
บทที่ 3 การวิเคราะห์ทางการเงิน - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
4 บทที่ 4 การวางแผนทางการเงิน - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
5 ทดสอบย่อย - จัดสอบโดยอาจารย์ผู้สอน
6 - 7 บทที่ 5 การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
บทที่ 6 การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์
ในความต้องการของตลาด
บทที่ 7 การบริหารลูกหนี้ - ให้นักศึกษารายงาน
- ให้นักศึกษาซักถาม
- ให้นักศึกษาทำคำถามท้ายบท
8 สอบกลางภาค - โดยอาจารย์ผู้สอน
9 บทที่ 8 การบริหารสินค้าคงเหลือ - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
10 บทที่ 9 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
11 บทที่ 10 มูลค่าของเงินตามกาลเวลา - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
12 - 13 บทที่ 11 งบลงทุน - บรรยายเนื้อหาและให้นักศึกษาซักถาม
14 - 15 บทที่ 12 การจัดหารเงินทุน
บทที่ 13 นโยบายเงินปันผล - ให้นักศึกษารายงาน
- ให้นักศึกษาซักถาม
16 สอบปลายภาค จัดสอบโดยทางมหาวิทยาลัยฯ
การวัดผลและประเมินผล
1. การวัดผลคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน ดังนี้
1.1 คะแนนระหว่างภาคเรียน 70 คะแนน แบ่งออกเป็นดังนี้
1.1.1 จิตพิสัยและเข้าห้องเรียน 10 คะแนน
1.1.2 แบบฝึกหัด 10 คะแนน
1.1.3 รายงาน 10 คะแนน
1.1.4 ทดสอบระหว่างภาคและกลางภาค 40 คะแนน
1.2 คะแนนปลายภาคเรียน 30 คะแนน
หมายเหตุ
1. นักศึกษาไม่เข้าห้องเรียนหักครั้งละ 1 คะแนน และขาดเรียนเกิน 3 ครั้งหมดสิทธิ สอบปลายภาค (เป็นไปตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัยฯ)
2. นักศึกษาส่งแบบฝึกหัดไม่ตรงเวลาหักคะแนนตามอัตราส่วน
3. นักศึกษาสอบที่หลังหักสัปดาห์ละ 2 คะแนน
4. นักศึกษาทุจริตการสอบในแต่ละครั้งปรับตกโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ
2. การประเมินผล (เกณฑ์การให้ระดับคะแนน)
ช่วงคะแนน 86 คะแนนถึง 100 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน A
ช่วงคะแนน 79 คะแนนถึง 85 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน B+
ช่วงคะแนน 73 คะแนนถึง 78 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน B
ช่วงคะแนน 67 คะแนนถึง 72 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน C+
ช่วงคะแนน 60 คะแนนถึง 66 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน C
ช่วงคะแนน 55 คะแนนถึง 59 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน D+
ช่วงคะแนน 50 คะแนนถึง 54 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน D
ช่วงคะแนน 0 คะแนนถึง 49 คะแนนได้ค่าระดับคะแนน E
หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
ตำราหลัก
ลำใย มีเสน่ห์. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเงินธุรกิจ. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
หมู่บ้านจอมบึง.
หนังสืออ้างอิง
วรานี เวสสุนทรเทพ และณัฎฐดา ศรีมุข. (2548). การเงินธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เบญจวรรณ รักษ์สุธี. (2534). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
ประวัติ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงินและการบัญชี สอนวิชา การเงินธุรกิจ การภาษีอากร
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บทความใหม่
บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้น ฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
(อติญาณ์ ศรเกษตริน. 2543 :72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom. 1976 : 18)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)